ถนนแบ่งตามฟังก์ชันได้ 3 ประเภท (และหลายที่ในไทยใช้งานผิดประเภท #Stroad)
Disclaimer ก่อนเริ่มต้นเล็กน้อย ชื่อหัวข้อค่อนข้าง self-explanatory ก็จริง แต่ผมไม่ได้จะว่ามาตราฐานกรมทางหลวงไม่ดีนะ คือเอาจริงมาตราฐานมันก็ปกติดีแล้ว เหมือนกันกับหลายประเทศ โดยเฉพาะ USA ที่เป็นต้นแบบการบ้านให้เพื่อนลอก (ในที่นี่คือไม่ได้เน้นเรื่องวัสดุ แต่พูดถึงมาตรฐานการออกแบบตอนแรก) (และเอาจริงยุโรปอาจจะมีอะไรที่น่ามองกว่าอเมริกา เพราะเมืองที่ถนนออกแบบดีที่อเมริกาก็คือเมืองที่รับอิทธิพลยุโรป) ปัญหามันเป็นเรื่องหลังจากโครงการจบและใช้งานจริง และการวางผังเมืองให้อนุญาติก่อสร้างรอบถนนที่เริ่มให้สร้างแบบไม่สนใจประเภท
โอเค ขอเริ่มต้นเข้าเรื่องงี้ครับ ก่อนอื่นต่อไปนี้ผมจะใช้คำว่า “ทางหลวง” กับ “ถนน” ในบทความนี้สลับไปมาพอสมควร และเสริมว่า Highway ไม่ได้หมายถึง(แค่)ทางด่วน ให้คิดเสียว่าเท่ากันกับคำว่า “ทางหลวง” ในภาษาไทย ย้ำอีกทีว่ามันไม่ได้หมายถึง(แค่)ทางด่วน
(ถนนนี่ก็ต้องย้ำด้วยว่า เป็นคำที่รวมทางเท้าด้วย อาจจะขัดกับสามัญสำนึกบางคนนะ แต่เอาจริงๆว่ากันตามประวัติศสาตร์ ถนนเพื่อรถยนต์มันเป็น concept ที่เกิดทีหลัง)
ทีนี้มาที่เรื่องการจำแนก มันไม่ได้มีแค่แบบนี้เท่านั้น แต่ขอใช้ตัวนี้เป็นจุดตั้งต้น แล้วใครจะสืบค้นการแบ่งประเภทอื่นๆก็จะได้มีตัวเทียบ ด้วยการอธิบายตามหลักของกองบริหารทางหลวงแห่งชาติ Federal Highway Administration (FHWA) ของกระทรวงคมนาคมสหรัฐฯ (US DOT) ว่าถ้าเราแบ่งประเภทถนนตามการใช้สอย Functional Classification หลักๆจะมีถนน 3 แบบ (อย่าเพิ่งแตกย่อยนะ)
*ในแต่ละข้อจะเทียบภาษาไทยด้วยว่าคืออะไร อ้างตาม พระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 untitled (soc.go.th)
**ย้ำว่าแบ่งตาม Functional ถ้าในแง่การออกแบบคำนวนความเร็วหรือความหนาแน่นจราจรอะไรนั้นอีก Classification หนึ่ง (หรือการก่อสร้างตามวัสดุก็อีกเรื่องหนึ่ง)**
***วิศวกรโยธาบางคนอาจจะคุ้น American Association of State Highway and Transportation Officials (AASHTO) ซึ่งมันไม่ได้อยู่ใต้ DOT แต่ก็แบ่งเหมือนกันกับ FHWA อยู่ดี ***
**** ของออสเตรเลียต้องใช้ Austroads คนละ standard แต่ก็ไม่ต่างกันมากอยู่ดี****
- Local Road ถ้าเทียบกับไทยก็คือทางหลวงท้องถิ่น ตามชื่อ local road คือถนนที่ผมเชื่อว่าบ้านหลายคนน่าจะตั้งอยู่นั่นแหละ (ไม่นับว่าบางคนอยู่คอนโดหรูใจกลางเมืองอะไรอะนะ) เป็นถนนที่มุ่งเน้นการเข้าถึง Accessibility ไปมาของสองข้างถนน คนที่จัดการคือ ราชการส่วนท้องถิ่น ตรงระดับนี้ก็มักจะเป็นถนนที่ใช้คำว่า Street ได้ นึกภาพที่ที่มีร้านก๋วยเตี๋ยวแถวบ้านตั้งอยู่ (Assume ว่าร้านก๋วยเตี๋ยวนั้นตั้งบนถนน Local ที่ถูกประเภท ไม่ใช่ร้านก๋วยเตี๋ยวที่ไปอยู่ Collector/Arterials)
- Collector Road ก็จะเรื่มลด Accessibility ลง และเน้นการเคลื่อนที่ Mobility มากขึ้นมาระดับกลาง ตามชื่อคือมันเก็บคนเดินทางจากพื้นที่ท้องถิ่นย่อยเข้ามาถนนที่จะไปอีกย่านหนึ่ง ทางหลวงระดับนี้อาจจะมี Major หรือ Minor ในบางเมือง สำหรับไทยคือ “ทางหลวงชนบท” คนที่บริหารตรงนี้คือกรมทางหลวงชนบท ถ้าเกิดเห็นคำว่า Avenue/Road ในชื่อถนนต่างประเทศ (US/UK/Australia/Canada)โดยปกติก็มักจะเป็นระดับ Collector แล้ว ถ้าเล็กกว่าก็จะเป็น Local หรือที่เห็น street ต่อท้ายชื่อ
- Arterials Road อันนี้ก็เน้น Mobility สุดๆ จากที่ Collector เก็บมาย่านหนึ่ง ก็โยงมาหา Arterials ซึ่งก็จะมีการรวมกันของคนหลายๆย่าน แล้วแต่ว่าอาจจะมีทางขึ้น/ลงไปแต่ละย่านอื่นๆ เทียบกับไทยคือ “ทางหลวงพิเศษ” (+ทางหลวงพิเศษ +ทางหลวงสัมปทาน ด้วยถ้าดูเรื่องศก.) และเป็นความรับผิดชอบของกรมทางหลวง อาจจะมี major/minor อีก และใช่ Freeway หรือทางด่วนที่คนไทยคุ้นกันกับคำนี้ ก็จัดเป็น Arterials
มาเข้าเรื่องปัญหา บางพื้นที่ มีความพยายามที่จะทำให้ Accessibility กับ Mobility มันมาผสมกัน ในที่ที่ไม่ใช่ Collector เนี่ยสิ ปัญหามันก็เลยเกิด บางที่ที่ควรเป็น local เป็น street ย่อยๆแต่ไปทำให้รถขับเร็ว หรือกลับกัน Arterials แต่ไปทำให้มันกลายเป็น street มีการตั้ง 2 ข้างทางเต็มไปหมด
ผมขอใช้คำว่า Stroad ในการเรียกความพิการนี้ (Street + Road รวมร่างกัน) ซึ่งจริงๆผมไม่ใช่คนแรกที่ใช้ชื่อนี้แต่อย่างใด คนในวง Engineer, Architect, City Planner วิจารณ์ Urban System ในสหรัฐฯเรื่องของปัญหา Stroad เช่นกัน (อย่าคิดว่า USA ทุกเมืองทุกรัฐจะมี Transit ดีเจริญทุกเมือง มันไม่เล็กนะประเทศนี้)
ตัวอย่างหนึ่งที่ผมเห็นและขอยกมาตรงนี้คือ แถวธรรมศาสตร์ รังสิต ที่ตั้งบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 — วิกิพีเดีย (wikipedia.org)) หรือบางคนเรียกแถวประตูเชียงราก
ประเภทที่ควรเป็นของช่วงถนนนี้คือ Arterial ตรงๆเลย แถมใกล้ทางลง/ทางขึ้นทางด่วนอีก ดังนั้นมันควรจะเน้น Mobility ไม่ใช่ Accessibility เลย แต่ในตอนนี้ถ้าใครเป็นนักศึกษามธ.ก็จะรู้ดีว่า Accessibility ตรงนี้มันช่างจัดหนักอย่างมาก สองข้างทางถูกใช้ซะเหมือน local หรือ street ไปโดยปริยาย
ผลกรรม เอ้ย ผลกระทบของการใช้ถนนผิดประเภท หรือ Stroad แบบนี้
- ไปขวาง Mobility รถมันก็ติดสิ อันนี้ Obvious และเด็กมธ.ทุกคนคงทราบดีว่าช่วงเย็นๆรถจะติด ทั้งในตัวม. ทั้งหน้าประตูเชียงราก
- อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่าย และเกิดทีคือเกิดอย่างรุนแแรง บางคนอาจจะเถียงบอกว่ามันก็มีสะพานลอยข้ามถนนนะไรงี้ แต่การที่มันมีการทำ Business 2 ข้างทางแบบนี้แล้วมาคาดหวังว่ามนุษย์ 100.00% จะใช้สะพานลอยได้หมดนี่ก็เป็นอะไรที่มั่วเกิน Stroad มันไม่ปลอดภัยกับทั้งคนเดินเท้าและรถยนต์
- มอเตอร์ไซต์สวนทาง เพราะ Arterials มันมักจะไม่ได้มีทางเท้าในโครงการ เดินเท้าไม่ปลอดภัย และไหนจะเรื่องการข้ามถนนที่ยากลำบาก วนไปกลับรถ u-turn ก็ไกล ก็แน่นอนแบบต่อให้ยังไม่คิด Traffic Assignment สมการโมเดลอะไร ก็เห็นแล้วว่ามันเป็นทางเลือกที่หลายคนขี่ย้อนศรแน่ๆ
ถามว่า แก้ได้ไหม สมมติว่าถ้ามีคนที่มีอำนาจแก้ได้นะ (อย่าลืมว่านี่ไม่ใช่แค่ปัญหาคมนาคม มันเกี่ยวกับ Land Use การขออนุญาติก่อสร้าง ใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำมาหากินค้าขาย อสังหา สิ่งแวดล้อม อะไรหลายๆอย่าง)
- เวลาเจอปัญหา Stroad ต้องดูก่อนว่าที่จริงมันควรเป็นอะไร มันเป็นอะไรอยู่ เปลี่ยนได้ไหม
- สมมติว่าเปลี่ยนได้ ก็เปลี่ยน อันนี้ถ้าทำได้จะเจ๋งมาก แบบบางที่ในยุโรปที่เปลี่ยน Road ให้กลายเป็น Street ได้ เนื่องจากมีระบบขนส่งมาถึงเยอะแล้ว และการ diet เลนรถ มีประโยชน์ต่อการเงินของเมืองในระยะยาว
- แต่ส่วนมากเปลี่ยนประเภทไม่ได้ นำมาสูความคิดเรื่องการจัดระเบียบชุมชนให้เข้ากับถนนที่มันควรจะเป็น เช่น ในกรณีธรรมศาสตร์ รังสิต น่าจะมีคนทำการศึกษา Traffic Impact ตรงพื้นที่ข้างหลังม.และเอียงไปทางสถานีรถไฟเก่าๆทางตะวันตก ว่าสามารถพัฒนาตรงนั้นได้ไหม แล้วให้พวกหอนอกมาเริ่มลงทุนด้านหลังนั้นมากขึ้น
สุดท้าย ของสรุปงี้ว่า ถนนที่ควรเป็น VS ถนนที่เป็นอยู่ ถ้าแก้ปัญหานี้ได้ แม้ไม่ได้การันตีว่าจะไม่ติด แต่ที่แน่ๆคือเรื่องของความปลอดภัย และเป็นการแก้ปัญหาการวางผังเมืองไปในตัว จึงเป็นสาเหตุที่เราจะเริ่มทำ Road Diet ในหลายๆเส้นได้แล้ว (กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม รับเรื่องนี้ไปอ่านด้วย please)
มีตอนต่อไป: หยุดให้คนข้ามถนน ไม่เกี่ยวอะไรกับ “คนดีมีวินัย” : How to ออกแบบทางข้ามถนน ถ้าใครมีความคิดอยากข้ามทางม้าลายได้ง่ายๆเดินสะดวก น่าจะชอบ
หรือดูเพิ่มเติมที่
1. Stroads are Ugly, Expensive, and Dangerous (and they’re everywhere) [ST05] Not Just Bikes https://youtu.be/ORzNZUeUHAM
3. Streets and Patterns: Stephen Marshall: 9780415317504: Amazon.com: Books
* — -อย่าลืม Follow กันในมีเดียมด้วยนะครับ — -*